ฟิสิกส์ คือ พื้นฐานของวิทยาศาสตร์ที่ว่าด้วยการคำนวณ และกานศึกษาเกี่ยวกับกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ
ฟิสิกส์ เป็นการศึกษาเกี่ยวกับสมบัติของสสารทั่วๆ ไป และพลังงานไม่เกี่ยวข้องกับสารใดสารหนึ่งโดยเฉพาะ วิทยาศาสตร์ที่ว่าด้วยสารใดสารหนึ่งโดยเฉพาะคือ เคมี ฟิสิกส์เป็นวิชาที่กว้างกว่าเคมี เพราะสสารมีความหมายกว้างกว่าสารที่เราอาจจะเอาใส่ขวดได้มากนัก สสารหมายถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่มีตัวตนในเอกภพ รวมทั้ง แสง ไฟฟ้า และพลังงาน สิ่งเหล่านี้มีความเกี่ยวข้องกันทั้งสิ้น เพราะสสารประกอบไปด้วยอะตอม ซึ่งมีอิเล็กตรอนเป็นองค์ประกอบและอิเล็กตรอนก็คือไฟฟ้า อะตอมอาจจะเปลี่ยนไปเป็นแสงได้ และแสงก็เป็นพลังงานรูปหนึ่ง ในลูกระเบิดปรมาณู สารที่เป็นของแข็งธรรมดา (ในกรณีนี้ หมายถึงโลหะยูเรเนียม-235) เปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อนที่ได้จากการระเบิดซึ่งก็เป็นรูปหนึ่งของพลังงาน
การศึกษา เรื่องพลังงานที่เกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของสสารและปฏิกิริยาของมวลสารเมื่อมีแรงมากระทำ มีชื่อว่า “กลศาสตร์” หรือ “เมคานิกส์” วิศวกรผู้ซึ่งนำกลศาสตร์ไปใช้ต้องเรียนรู้เกี่ยวกับคุณสมบัติของสารนั้นๆ ด้วย สารแต่ละอย่างมีสมบัติที่แตกต่างกันไป บางชนิดคล้ายสปริง บางชนิดยืดหดได้ บางชนิดแข็งแกร่ง และบางชนิดเหนียวหนืด แรงที่ต้องใช้ในการดึงลวดให้ขาด มีความสำคัญน่าศึกษาพอๆ กับความเสียดทาน ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อวัตถุชิ้นหนึ่งขัดสีกับวัตถุอีกชิ้นหนึ่ง หัวข้อต่างๆ เหล่านี้เป็นการศึกษาในฟิสิกส์อีกแขนงหนึ่งชื่อว่า “สมบัติของสสาร” ซึ่งรวมทั้งสมบัติของก๊าซ และของเหลวด้วย
……………………………………………………………………………………………………..
ปริมาณทางฟิสิกส์ มี 2 ชนิด • ปริมาณสเกลลา • ปริมาณเวกเตอร์
ปริมาณสเกลลา คือ ปริมาณที่กำหนดแต่เพียงขนาด ก็มีความหมาย ตัวอย่างของปริมาณสเกลลา ได้แก่ จำนวนนับของสิ่งของโดยทั่วไป ระยะทาง เวลา พื้นที่ งาน พลังงาน กระแสไฟฟ้า เป็นต้น การคำนวณปริมาณสเกลลา สามารถดำเนินการ บวก ลบ คูณ หาร เหมือนกับการคำนวณในระบบจำนวนทั่ว ๆ ไป จำนวน 0 ของปริมาณสเกลลา เป็น 0 อ้างอิง ไม่ได้หมายความว่ามีค่าเป็นศูนย์จริง เช่น อุณหภูมิ 0 เซลเซียส ไม่ได้หมายความว่าวัดอุณหภูมิไม่ได้ แต่กำหนดให้อุณหภูมิขณะนั้นเป็นศูนย์ และอุณหภูมิ -1 เซลเซียสเป็นอุณหภูมิที่ต่ำกว่าศูนย์เซลเซียสอยู่ 1 เซลเซียส เป็นต้น ปริมาณสเกลลาที่เป็นลบจึงเป็นปริมาณที่มีค่าน้อยกว่าศูนย์
ปริมาณเวกเตอร์ คือ ปริมาณที่ต้องกำหนดทั้งขนาดและทิศทางจึงจะมีความหมาย ตัวอย่างของปริมาณเวกเตอร์ ได้แก่ แรง การกระจัด ความเร็ว ความเร่ง เป็นต้น เนื่องจากปริมาณเวกเตอร์มีทั้งขนาดและทิศทาง การคำนวณจึงต้องมีวิธีการที่แตกต่างออกไปจากการคำนวณในระบบจำนวน ไม่สามารถดำเนินการบวก ลบ คูณ หารแบบธรรมดาได้ จึงต้องใช้วิธีการคำนวณเวกเตอร์โดยเฉพาะ จำนวน 0 ในปริมาณเวกเตอร์ เป็นปริมาณที่ไม่มีค่าจริง ๆ ปริมาณเวกเตอร์จึงไม่มีค่าเป็นลบ เครื่องหมายในปริมาณเวกเตอร์ใช้บอกทิศทางของเวกเตอร์ เวกเตอร์ที่มีเครื่องหมายเหมือนกันทิศทางเดียวกัน เวกเตอร์ที่มีเครื่องตรงกันข้ามทิศทางตรงกันข้าม
……………………………………………………………………………………………………….
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
บล็อกเขียวมาแต่ไกล เนื้อหาคบ ตกแต่งได้ไม่เหมือนใคร ให้ 9 คะแนน
ตอบลบโดยฉะเพาะรูป jabbawockeez เนี๊ยะ แนวจริงๆ
เยี่ยม++ เนื้อหาครบดี รูปมีเยอะดี 9 คะแนน
ตอบลบเขียวอื้อเลย รูปก็มีเนื้อหาครบถ้วนให้ 9 ละกัน
ตอบลบนี่
ตอบลบเขียวแต่ไกลแสบตาจัง
เนื้อหาสุดยอด
รูปก้อแนวเอาไปเร้ยย
9999999999
*-*
9จ่ะ
เนื้อหาครบดี ดีมากๆๆ
ตอบลบ9 คะแนน นะ
ให้ 9 คะแนนเนื้อหาค่อนข้างสมบูรณ์
ตอบลบสีสันสวยงาม
สวยดีค้า~สวยมากมาย
ตอบลบให้ สิบเต็มๆ ไปเรย!~