วันจันทร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

วิจารณ์การบรรยายของเพื่อนในชั้น

กลุ่มที่1 กลุ่มZazab09
เนื้อหา ไม่ค่อยครบถ้วนใจความยังไม่สมบูรณ์
การบรรยาย ใช้ได้ กระชับ รวดเร็ว ฟังรู้เรื่อง

กลุ่มที่2 กลุ่มAomtiz
เนื้อหา ค่อนข้างจะครบถ้วน เนือ้หาชัดเจน
การบรรยาย ผู้บรรยายบรรยายชัดเจนผู้ฟังฟังแล้วสามารถเข้าใจได้ดี

กลุ่มที่3 กลุ่ม Poolto (กลุ่มของข้าพเจ้า)

กลุ่มที่4 กลุ่ม Pooltoeto
เนือ้หา ข้อมูลไม่ค่อยครบถ้วน มีเนื้อหาไม่ค่อยตรงกับหัวเรื่องเท่าไหร่
การบรรยาย บรรยายชัดเจน แต่ขาดความมั่นใจในการออกไปนำเสนอหน้าชั้น

กลุ่มที่5 กลุ่ม Shabushi
เนื้อหา ข้อมูลไม่ชัดเจน แต่ว่าพอจะมีใจความสำคัญอยู่บ้าง
การบรรยาย บรรยายชัดเจน ทำให้ผู้ฟังเข้าใจได้


กลุ่มที่6 Superkyumin
เนือ้หา ครบถ้วนสมบูรณ์
การบรรยาย บรรยายชัดถ้อยชัดคำ มีการเว้นวรรคได้เหมาะสม

กลุ่มที่7 Scientist
เนื้อหา เนือ้หาเยอะ แต่ไม่มีชัดเจน เพราะขาดใจความสำคัญไปอยู่
การบรรยาย บรรยายชัดเจน แต่เว้นวรรค์ไม่ถูกต้องเป็นบางส่วน

กลุ่มที่8 Atomlizd
เนื้อหา เนื้อหาเยอะ แต่ยังไม่ได้สรุปใจความให้ชัดเจน
การบรรยาย ผู้บรรยายบรรยายเสียงไม่ค่อยดังจึงฟังแล้วไม่ค่อยรู้เรื่อง บรรยายไม่ครบถ้วน ไม่ได้ใจความ

กลุ่มที่9 Jungkosabza
เนื้อหา มีใจความสำคัญเพียงบางส่วนเท่านั้น เนื้อหายังไม่ครบถ้วนนัก
การบรรยาย ผู้บรรยายมีความมั่นใจดี ออกมาพูดด้วยน้ำเสียงชัดเจน แต่ว่าบรรยายเร็วไปหน่อย

วันอาทิตย์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

ฟิสิกส์

ฟิสิกส์ คือ พื้นฐานของวิทยาศาสตร์ที่ว่าด้วยการคำนวณ และกานศึกษาเกี่ยวกับกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ
ฟิสิกส์ เป็นการศึกษาเกี่ยวกับสมบัติของสสารทั่วๆ ไป และพลังงานไม่เกี่ยวข้องกับสารใดสารหนึ่งโดยเฉพาะ วิทยาศาสตร์ที่ว่าด้วยสารใดสารหนึ่งโดยเฉพาะคือ เคมี ฟิสิกส์เป็นวิชาที่กว้างกว่าเคมี เพราะสสารมีความหมายกว้างกว่าสารที่เราอาจจะเอาใส่ขวดได้มากนัก สสารหมายถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่มีตัวตนในเอกภพ รวมทั้ง แสง ไฟฟ้า และพลังงาน สิ่งเหล่านี้มีความเกี่ยวข้องกันทั้งสิ้น เพราะสสารประกอบไปด้วยอะตอม ซึ่งมีอิเล็กตรอนเป็นองค์ประกอบและอิเล็กตรอนก็คือไฟฟ้า อะตอมอาจจะเปลี่ยนไปเป็นแสงได้ และแสงก็เป็นพลังงานรูปหนึ่ง ในลูกระเบิดปรมาณู สารที่เป็นของแข็งธรรมดา (ในกรณีนี้ หมายถึงโลหะยูเรเนียม-235) เปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อนที่ได้จากการระเบิดซึ่งก็เป็นรูปหนึ่งของพลังงาน
การศึกษา เรื่องพลังงานที่เกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของสสารและปฏิกิริยาของมวลสารเมื่อมีแรงมากระทำ มีชื่อว่า “กลศาสตร์” หรือ “เมคานิกส์” วิศวกรผู้ซึ่งนำกลศาสตร์ไปใช้ต้องเรียนรู้เกี่ยวกับคุณสมบัติของสารนั้นๆ ด้วย สารแต่ละอย่างมีสมบัติที่แตกต่างกันไป บางชนิดคล้ายสปริง บางชนิดยืดหดได้ บางชนิดแข็งแกร่ง และบางชนิดเหนียวหนืด แรงที่ต้องใช้ในการดึงลวดให้ขาด มีความสำคัญน่าศึกษาพอๆ กับความเสียดทาน ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อวัตถุชิ้นหนึ่งขัดสีกับวัตถุอีกชิ้นหนึ่ง หัวข้อต่างๆ เหล่านี้เป็นการศึกษาในฟิสิกส์อีกแขนงหนึ่งชื่อว่า “สมบัติของสสาร” ซึ่งรวมทั้งสมบัติของก๊าซ และของเหลวด้วย
……………………………………………………………………………………………………..
ปริมาณทางฟิสิกส์ มี 2 ชนิด • ปริมาณสเกลลา • ปริมาณเวกเตอร์
ปริมาณสเกลลา คือ ปริมาณที่กำหนดแต่เพียงขนาด ก็มีความหมาย ตัวอย่างของปริมาณสเกลลา ได้แก่ จำนวนนับของสิ่งของโดยทั่วไป ระยะทาง เวลา พื้นที่ งาน พลังงาน กระแสไฟฟ้า เป็นต้น การคำนวณปริมาณสเกลลา สามารถดำเนินการ บวก ลบ คูณ หาร เหมือนกับการคำนวณในระบบจำนวนทั่ว ๆ ไป จำนวน 0 ของปริมาณสเกลลา เป็น 0 อ้างอิง ไม่ได้หมายความว่ามีค่าเป็นศูนย์จริง เช่น อุณหภูมิ 0 เซลเซียส ไม่ได้หมายความว่าวัดอุณหภูมิไม่ได้ แต่กำหนดให้อุณหภูมิขณะนั้นเป็นศูนย์ และอุณหภูมิ -1 เซลเซียสเป็นอุณหภูมิที่ต่ำกว่าศูนย์เซลเซียสอยู่ 1 เซลเซียส เป็นต้น ปริมาณสเกลลาที่เป็นลบจึงเป็นปริมาณที่มีค่าน้อยกว่าศูนย์
ปริมาณเวกเตอร์ คือ ปริมาณที่ต้องกำหนดทั้งขนาดและทิศทางจึงจะมีความหมาย ตัวอย่างของปริมาณเวกเตอร์ ได้แก่ แรง การกระจัด ความเร็ว ความเร่ง เป็นต้น เนื่องจากปริมาณเวกเตอร์มีทั้งขนาดและทิศทาง การคำนวณจึงต้องมีวิธีการที่แตกต่างออกไปจากการคำนวณในระบบจำนวน ไม่สามารถดำเนินการบวก ลบ คูณ หารแบบธรรมดาได้ จึงต้องใช้วิธีการคำนวณเวกเตอร์โดยเฉพาะ จำนวน 0 ในปริมาณเวกเตอร์ เป็นปริมาณที่ไม่มีค่าจริง ๆ ปริมาณเวกเตอร์จึงไม่มีค่าเป็นลบ เครื่องหมายในปริมาณเวกเตอร์ใช้บอกทิศทางของเวกเตอร์ เวกเตอร์ที่มีเครื่องหมายเหมือนกันทิศทางเดียวกัน เวกเตอร์ที่มีเครื่องตรงกันข้ามทิศทางตรงกันข้าม
……………………………………………………………………………………………………….